วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

                                       


 ของดีประจำจังหวัดนครปฐม






นครปฐม เป็นอู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้น นครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมือง นครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้ง สร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้าง พระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น “นครปฐม"

4.ของดีประจำจังหวัดนครปฐม




     ข้าวหลามถือเป็นสิ่งบ่งบอกความเป็น "นครปฐม" ได้เป็นอย่างดี เอกลักษณ์ของข้าวหลามนครปฐมอยู่ที่ความอร่อย หวานมัน ข้าวเหนียวเขี้ยวงู เม็ดเล็กอ่อนนุ่มในตัว ไม่แฉะจนเกินไปกลิ่นของกระบอกไม้ไผ่ ใบตองปิดจุก และถ่านไม้จากการเผา เพิ่มความหอม ชวนรับประทานยิ่งขึ้น เคล็ดลับการชิมอยู่ที่ ต้องชิมจากก้นกระบอก จะได้รู้ว่า ข้าวหลามนั้น ๆ รสชาติทั่วถึงทั้งกระบอกหรือไม่ นอกจากสูตรดั้งเดิม เช่น ข้าวหลามข้าวเหนียวดำ, ข้าวหลามข้าวเหนียวขาว, ข้าวหลามสังขยาดำ, ข้าวหลามสังขยาขาวและข้าวหลามบ๊ะจ่าง แล้ว ยังมีการวิจัยและพัฒนาข้าวหลามสูตรใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ด้วยข้าวหลามใหม่ 4 สูตร ได้แก่ ข้าวหลามกระเพรากุ้ง, ข้าวหลามหน้ากุ้ง, ข้าวหลามอัญชัญ และข้าวหลามเบญจพรรณ  





    ส้มโอนครปฐม ซึ่งเป็นส้มโอที่มีรสหวานอร่อย มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศมานาน ส้มโอ ปลูกกันแพร่หลายในหลายอำเภอ แต่เป็นที่นิยมมากคือ ส้มโอนครชัยศรีที่อยู่ 5 สายพันธุ์ ได้แก่1 ส้มโอพันธุ์ทองดี รสชาติดีหวานนำอมเปรี้ยวเล็กน้อยไม่มีรสขมและรสซ่า เนื้อสีขาวอมชมพูฉ่ำ รูปทรงกลมแป้น เปลือกผิวบาง มีต่อมน้ำมันเล็ก ชาวจีนนิยม เพราะสีเนื้อคล้ายสีทับทิม ไหว้เจ้าก็เป็นมงคลบริโภคก็อร่อยติดใจ 2 ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง รสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อสีขาวอมเหลืองเล็กน้อยคล้ายน้ำผึ้ง รูปทรงกลมนูน เปลือกผิวบาง มีต่อมน้ำมันใหญ่ เนื้อแน่นน้ำหนักดี ไม่มีรสขมและรสซ่า แก่จัดเนื้อแห้งถูกคอคนไทยต่างชาติก็นิยม  3 ส้มโอพันธุ์ขาวพวง รสชาติเปรี้ยวนำ ลักษณะลูกหัวจุกจะยาว(คล้ายลูกน้ำเต้า) ส่งออกดีชาวจีนชอบ เหมือนผลน้ำเต้าไหว้เจ้าเป็นมงคลแก่ครอบครัว บริโภคก็ได้วิตามิน 4 ส้มโอพันธุ์ขาวแป้น รสชาติหวานอมเปรี้ยว ลักษณะผลคล้ายพันธุ์ทองดี เนื้อสีขาว 5 ส้มโอพันธุ์ขาวหอม รสเปรี้ยวนำ ลักษณะผลใหญ่ เปลือกบาง น้ำหนักดี




    กลุ่มมะพร้าวน้ำหอม92 หมู่ 8 ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สำหรับในปีนี้  งานวันมะพร้าวน้ำหอมสามพราน จังหวัดนครปฐม กำหนดจัด วันที่ 5 สิงหาคม  2552    ณ บริเวณวัดไร่ขิง  อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม กิจกรรม -จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สร้างสรรค์จากมะพร้าว ของฝาก ผลิตภัณฑ์ด้านหัตถกรรมจากภูมิปัญญาชาวบ้าน



      แก้วถักผลิตจากการที่นำแท่งแก้วมาทำให้ร้อนแล้วถักขึ้นเป็นรูปต่างๆ เช่น รถ หงส์ ตุ๊กตา ที่คนแก้ว ที่เสียบผม มีความสวยงาม และปราณีตอย่างมาก บางชิ้นจะนำไปบรรจุกล่องแก้วที่ตกแต่งอย่างสวยงามด้วย  นำแท่งแก้ว ขนาดตามต้องการลนไฟจนหลอมละลาย แล้วถักเป็นรูปทรงต่างๆ ตามต้องการโดยไม่ใช้แม่พิมพ์ฤ




     เครื่องปั้นดินเผา "พงษ์ศรีนคร ศิลาดล" ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมครอบครัวกึ่งอุตสาหกรรมขนาดเล็กของ พงษ์ลักษณ์ สุวรรณมาลี ที่หมู่ 4 ต.สัมปทวน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จะได้รับผลกระทบจากผลพวงของภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังอยู่ในช่วงชะลอตัวถึงขนาดยอดส่งออกตกฮวบกว่า 50% แต่ลูกค้าคนไทยด้วยกันยังมีเต็ม 100% ทำให้เขามีกำลังที่จะดำเนินกิจการให้เดินหน้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป ล่าสุดเขามีการปรับปรุงสูตรเนื้อดินเครื่องปั้นดินเผาใหม่ให้มีน้ำหนักเบาลงถึง 40% และช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกระดับหนึ่ง โดยที่ยังคงเอกลักษณ์และคุณภาพเหมือนเดิม







ที่มา     https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=706184542905262157#editor/target=post;postID=3935691023272918258;onPublishedMenu=allposts;onClosedMenu=allposts;postNum=0;src=postname